๖.๓ พิธีทำบุญ งานมงคล งานอวมงคล และการปฏิบัติตามระเบียบศาสนพิธี

การทำบุญในพระพุทธศาสนา มี 2 อย่าง ได้แก่

1. ทำบุญในงานมงคล ได้แก่ การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและญาติสนิทมิตรสหาย เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การแต่งงาน เป็นต้น

2. ทำบุญในงานอวมงคล ได้แก่ การทำบุญเพื่อความสุขความเจริญแก่ผู้อื่นที่ตนควรสงเคราะห์หรือที่ควรบูชา การทำบุญเกี่ยวกับการตาย เช่น การทำบุญหน้าศพ การทำบุญอัฐิบรรพบุรุษ เป็นต้นการทำบุญงานมงคลพิธีฝ่ายเจ้าภาพ ผู้ที่จะทำบุญเนื่องในงานมงคลต่าง ๆ นั้น เบื้องต้นจะต้องตระเตรียมกิจการต่าง ๆ ดังนี้

2.1 อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ นิยมเป็นจำนวนคี่ เช่น 5 รูป 7 รูป หรือ 9 รูป

2.2 เตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชาเช่นโต๊ะหมู่บูชาควรจัดตั้งไว้ทางด้านขวามือของพระสงฆ์โดยให้พระพุทธรูปผินพระพักตร์ไปทางด้านเดียวกับพระสงฆ์

2.3 ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธีให้เหมาะสมกับการทำพิธี
2.4 เชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา
2.5 วงด้ายสายสิญจน์ใช้ด้ายดิบจับ2ครั้ง9เส้น1ม้วนโยงรอบบ้านหรือรอบบริเวณที่ทำพิธีเวียนจากซ้ายไปขวาแล้วโยงเข้ามาที่โต๊ะหมู่บูชาโยงรอบโต๊ะบูชาจากซ้ายไปขวา เช่นเดียวกันไม่ควรไปพันที่องค์พระควรพันใต้ฐานพระโยงมาที่ภาชนะน้ำมนต์พันที่เชิงรองโดยเวียนขวาแล้วนำสายสิญจน์วางไว้บนพานตั้งไว้ข้างโต๊ะใกล้พระเถระผู้เป็นประธาน
2.6 ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ โดยใช้เสื่อหรือพรมปูพื้นรองรับอาสนะสงฆ์อีกชั้นหนึ่ง
2.7 เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามควรแก่ฐานะ เช่น กระโถน ภาชนะน้ำเย็น พานใส่เครื่องรับรอง เป็นต้น
2.8 ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์
2.9 เมื่อพระสงฆ์นั่ง ณ อาสนะแล้ว ก็ประเคนเครื่องรับรองที่จัดไว้
2.10 ได้เวลาแล้ว จุดเทียนธูปที่โต๊ะบูชา บูชาพระแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
2.11 อาราธนาศีล และรับศีล
2.12 ต่อจากรับศีล อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
2.13 นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ด้วยจิตใจสงบ ควรพนมมือตลอด เมื่อจบแล้ว ถวายน้ำร้อนหรือเครื่องดื่มอันควรแก่สมณะ แล้วแต่จะจัด
2.14 ถวายภัตตาหาร หรือไทยธรรมแด่พระสงฆ์
2.15 กรวดน้ำ

การทำบุญงานอวมงคล

งานอวมงคล ได้แก่งานที่ทำบุญปรารภเหตุที่ไม่เป็นมงคล เช่น ปรารภการตายของบิดามารดา หรือญาติมิตร เป็นต้น ทำบุญในงานฌาปนกิจครบ 7 วัน 50 วัน 100 วันบ้าน ทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันตายบ้าง เพื่อให้เหตุร้ายกลายเป็นดี เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตา การทำบุญในกรณีเช่นนี้ ส่วนใหญ่เหมือนกับงานมงคลดังกล่าวข้างต้น แต่มีข้อแตกต่างกันบ้าง ดังนี้

1. จำนวนพระสงฆ์ที่นิมนต์ นิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ เช่น 4 รูป 8 รูป 10 รูป

2. การสวดมนต์ ในงานอวมงคลนี้ ไม่ต้องตั้งบาตรหรือหม้อน้ำมนต์ ไม่ต้องวงด้านสายสิญจน์ที่โต๊ะหมู่บูชา คงใช้แต่ผ้าภูษาหรือด้านสายสิญจน์โยง มาวางไว้บนพานใกล้พระเถระผู้เป็นประธาน

3. ในกรณีงานทำบุญหน้าศพพึงปฏิบัติดังนี้
3.1 อาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ มีจำนวนนิยม 4 รูป 8 รูป หรือ 10 รูป หรือกว่านั้นขึ้นไปแล้วแต่กรณี
3.2 ไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ และไม่มีการวงด้ายสายสิญจน์
3.3 เตรียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพไว้ เพื่อใช้บังสุกุล

ส่วนการปฏิบัติเมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้ว ก็เป็นเช่นเดียวกับงานมงคล และหลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว นิยมให้มีการบังสุกุล แล้วจึงถวายไทยธรรม เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาพึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลต่อไปงานทำบุญอัฐิพึงจัดตระเตรียมทำนองเดียวกับงานทำบุญหน้าศพต่างแต่เพียงงานนี้เป็นงานทำบุญหน้าอัฐิหรือรูปที่ระลึกของผู้ที่ล่วงลับ เป็นต้น และระเบียบที่พึงปฏิบัติก็เหมือนกับที่กล่าวแล้วข้างต้น

ใส่ความเห็น