๕.๒ การนำการบริหารจิตและเจริญปัญญาไปใช้ในชีวิตประจำวัน

imagesXE76I44W

๕.๒ การนำการบริหารจิตและเจริญปัญญาไปใช้ในชีวิตประจำวัน

มุ่งสู่การพัฒนาจิต

อำไพ สุจริตกุล (ม.ป.ป. : 31) กล่าวว่า ปัจจุบันการพัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านวัตถุมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ
พัฒนาการด้านวัตถุอย่างเดียวก่อให้เกิดปัญหามากมายด้วยความเครียดและความเห็นแก่ตัวของบุคคลในสังคมเพื่อปัองกันและขจัดปัญหาดังกล่าวจึงควรส่งเสริมให้ทุกคนพัฒนาจิตด้วยการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นการพัฒนาจิตให้รู้เท่าทันโลก รู้จักชีวิตตามเป็นจริง เพื่อลดละความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน อันเป็นผลให้จิตบริสุทธิ์และเกิดปัญญาการบริหารจิตและเจริญปัญญา เป็นการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนามาปฏิบัติจนเห็นผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่ง
ให้เด็กและเยาวชนปฏิบัติตามโอวาท 3 คือ เว้นชั่วด้วยการรักษาศีล ทำดีโดยการประพฤติธรรม และทำจิตใจให้ผ่องใสบริสุทธิ์ ด้วยการฝึกสติ บริหารจิตและเจริญปัญญา ดังตารางต่อไปนี้

1. รักษาศีล ประพฤติธรรม บริหารจิตเจริญปัญญา
– ไม่ฆ่าไม่เบียดเบียนกัน – มีเมตตากรุณา ฝึกสติปัฏฐาน 4 ได้แก่
– ไม่ลักขโมย – ประกอบสัมมาชีพ – ระลึกรู้ในกาย
– ไม่ล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักและหวงแหน – สำรวมในกาม – ระลึกรู้ในเวทนา
– ไม่พูดเท็จ (เว้นวจีทุจริต 4) – รักษาสัจจะ – ระลึกรู้ในจิต
– ไม่เสพของเสพติดให้โทษ – มีสติสัมปชัญญะ – ระลึกในธรรมะ

2. ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเบ็นสันและวอลเลชย์ (Benson and Wallace) พบว่า ระหว่างการฝึกสมาธิจะมีการผ่อนคลายก้ามเนื้อทั่วร่างกาย อัตราของ
ชีพจรและการหายใจลดลง ความต้านทานของผิวหนังเพิ่มขึ้น ระดับของแลคเตตย์ในเลือด (Blood lactate) ลดลงและกิจกรรมเกี่ยวกับกาเผาผลาญอาหารในร่างกาย (Metabolism) ก็ลดลงด้วย สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ มีการหลั่งของสารประเภทฝิ่นออกมาในสมอง สารนี้เรียกว่า เอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) ขณะเมื่ออยู่ในสมาธิหรือออกจากสมาธิแล้ว ผู้ฝึกจะมีความรู้สึกสดชื่น ตื่นตัวสุขสบาย และยังทำให้อาการปวดลดลงด้วย (จำลอง ดิษญวณิช. ม.ป.ป. : 159)

3.ส่งผลทางจิตวิทยานักจิตวิทยาและจิตแพทย์มีความเห็นสอดคล้องกัน ว่าการฝึกสมาธิสามารถลดความเครียดและความวิตกกังวลได้บางท่านได้นำเอาเทคนิคของการฝึกสมาธิมาประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตใจและทางอารมณ์บางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคประสาท และโรคทางกายสาเหตุจากจิตใจ

4. ส่งผลด้านสังคม ผู้ปฏิบัติสมาธิอย่างสม่ำเสมอจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพให้ดีและมั่นคง มีความสามารถทางสังคมดีขึ้น เป็นการช่วยป้องกันและขจัดปัญหาสังคม เช่น ปัญหาความก้าวร้าวความรุนแรง ปัญหาทางเพศ ปัญหายาเสพติด เป็นต้น

ประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา

นอกจากประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญาดังได้กล่าวไว้ใน ม.1 แล้ว ถ้าสรุปตามพระบาลี การฝึกอบรมเจริญสมาธิมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ดังนี้ (พระธรรมปิฏก. 2543:835-836)

1. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร (การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน) ได้แก่ การเจริญฌาน ในลักษณะที่เป็นวิธีหาความสุขแบบหนึ่ง พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย นิยมเจริญฌานโอกาสว่าง เพื่อเป็นการพักผ่อนอย่างสุขสบาย ที่เรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหาร

2. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ หมายถึง การนำเอาสมาธิไปใช้เพื่อผลสำเร็จทางจิตคือความสามารถพิเศษจำพวกอภิญญา (ความรู้ขั้นสูง 6 อย่างคือ แสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ หูทิพย์ ทายใจคนอื่นได้ ระลึกชาติได้ตาทิพย์ และทำให้อาสวะสิ้นไป) รวมทั้งอิทธิปาฏิหาริย์

3. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ คือ การรู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือดับไปในความเป็นอยู่ประจำวันของตน

4. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ได้แก่การเป็นอยู่โดยใช้ปัญญาพิจารณาเห็นอยู่เสมอถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไปของอุปาทานขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) กล่าวง่าย ๆ ว่า การใช้สมาธิเพื่อประโยชน์ทางปัญญา

ใส่ความเห็น